วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บันทึกหลังการสอน PBL เรื่องก้าวไกลไปอาเซียน

สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้

Topic: ก้าวไกลไปอาเซียน

สัปดาห์นี้โรงเรียนได้เริ่มการเรียนการสอนภาค 1/57 แล้ว และครูท็อป ซึ่งสอน PBL ให้กับนักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนบ้านพานเป็นสัปดาห์แรก คุณครูจะต้องสร้างแรงกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้ในหัวข้อ ครูท็อปจึงให้กับนักเรียนดูวีดีโอ "รอบรู้อาเซียน" ซึ่งนำเสนอความรู้ทั่วไปและชีวิต ความเป็นอยู่ ของประเทศในกลุ่มอาเซียน

หลังจากที่ได้รับชมวีดีโอแล้วคุณครูได้นำให้นักเรียนพูดคุยสิ่งที่เพิ่งได้รับชม นักเรียนมีความเห็นแตกต่างหลากหลายกันและแชร์ความคิดเห็น หลังจากนั้นครูท็อปกับนักเรียนได้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ต่อไป

................

เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้

เป้าหมายการร่วมกันทางเศรษฐกิจของประเทศในเขตอาเซียน (AEC) ภายในปี 2558 ผลักดันให้เราต้องสนใจในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกและเราในฐานะพลเมืองภายในประชาคม
ด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ภาษาและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาติสมาชิก และเราจะปรับตัวอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ สิ่งต่างๆ นี้ทำให้เรามีคำถามอันเป็นที่มาของหน่วยการเรียนรู้

สามารถดูแผนการเรียนรู้ PBL ได้ที่
http://wnnbpp5p--q157.blogspot.com/

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

PBL planning with the school teachers (โรงเรียนบ้านคลองเพชรสวาย)

การร่วมทำแผนกับโรงเรียนบ้านคลองเพชรสวาย
ชั้นประถมศึกษาปีที่5,6
ผู้ร่วมทำแผน :ครูประเสริฐ ศรีสุวรรณ

Topic: เปราะบัดโตว์นา
  ในการเลือกหัวข้อนั้นได้ปรึกษากับคุณครู โดยเลือกหัวข้อ จากสิ่งที่มีในชุมชน ซึ่งได้เลือกเรื่องป่าโคกเปราะ เพราะเป็นป่าของชุมชนซึ่งในอดีตมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีการบุกรุกเพื่อหาผลประโยชน์ ทำให้พื้นที่ป่าลดลง จึงควรเรียนรู้ในเรื่องนี้ เพื่อการอนุรักษ์อย่างยั้งยืน

          ในระหว่างการทำแผนสิ่งที่่ใช้เวลาในการทำพอสมควร คือ Mind Mapping เพราะใช้วความละเอียด ครอบคลุมเนื้อหาให้ได้มากที่สุด และการวาดภาพเพื่อให้ผลงานออกมาเป็นที่น่าพอใจ 
           ในการทำMind Mapping ในครั้งนี้เกิดจากการร่วมออกความคิดเห็นระหว่างพนักงานกับครู ซึ่งผมได้ทำไปก่อนแล้วให้ครูประเสริฐช่วยเพิ่มเติมสำหรับสิ่งที่นักเรียนควรรู้เพิ่มเติม ซึ่งมีความพอใจมากพอสมควรกับการทำแผนร่วมกับคุณครู



(ก่อนแก้ไข)
(แก้ไขแล้ว)

อบรมการเขียน Blog จังหวัดน่าน

จากที่ทางมูลนิธิเวปทูไทยได้มีการร่วมมือกับทางโรงเรียนในเครือข่ายของมูลนิธิ ซึ่งมี 3 โรงเรียน คือ
1. โรงเรียนบ้านพาน
2. โรงเรียนบ้านนาหนุนสอง
3. โรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166

ได้มีการเขียนแผนการเรียนของเทอมหน้า 1/57 ในรูปแบบการเรียนแบบบูรณาการการเรียนรู้ ( PBL ) ซึ่งในแต่ละโรงเรียนจะต้องแผนการเรียนรู้ลงใน Blog ด้วย
ในครั้งนี้ทางมูลนิธิเวปทูไทย จ.น่าน ได้จัดการอบรมให้กับบุคลากรของทางโรงเรียนในเครือข่ายตามรายละเอียดวันดังนี้
1. โรงเรียนบ้านพาน  วันที่ 1 เมษายน 2557
2. โรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166  วันที่ 2 เมษายน 2557
3. โรงเรียนบ้านนาหนุนสอง  วันที่ 3 เมษายน 2557
ในการอบรมครั้งนี้ได้เน้นไปในทางการเขียน Blog ด้วยตนเองและการตกแต่ง การนำแผน PBL ขึ้นไปใน Blog การปรับแต่งตารางให้พอดีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
วิทยาการหลัก
คุณมารินทร์  จ่าราช
คุณกฤษดา   กุลชาติ
และพนักงานมูลนิธิ จ.น่าน

โรงเรียนบ้านพาน 
การอบรมเป็นไปได้ด้วยดีมีครูที่สามารถเขียน Blog ได้ดี เช่นครูอัตราจ้างจะเร็วในการเขียน Blog และสามารถนำแผนที่เตรียมมาขึ้นไปหน้า Blog ได้ครบ 10 สัปดาห์ 1 คน และครูส่วนใหญ่จะนำขึ้นได้บ้างเป็นบางสัปดาห์
ครูที่สูงอายุจะไม่ถนัดในด้านนี้มีอยู่ประมาณ 2 คน ที่ไม่ได้เลยหนึ่งคน แต่ก็มีครูที่อยู่ในโรงเรียนสามารถช่วยเหลือได้
ครูที่เขียน Blog ไม่ได้เน้นวิธีการเขียนลงในกระดาษแล้วให้ครูช่วยพิมพ์ลงในไฟล์เอกสารให้

บรรยากาศการอบรม






โรงเรียนป่ากลางมิตรภาพที่ 166
โรงเรียนป่ากลางนั้นส่วนใหญ่ครูที่มาอบรมจะเป็นครูที่ไม่ค่อยชำนาญทาง IT แต่ก็พอที่จะทำได้และครูที่ชำนาญส่วนหนึ่งติดอบรมการอบรมเป็นไปด้วยดีแต่ทางโรงเรียนยังไม่ได้นำแผนขึ้น Blog ส่วนใหญ่ยังดำเนินการอยู่ ครูส่วนใหญ่สามารถสร้าง Blog เองได้ในช่วงการอบรม 

บรรยากาศการอบรม











โรงเรียนบ้านนาหนุนสอง
โรงเรียนบ้านนาหนุนสอง ครูทุกท่านเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ ครูส่วนใหญ่ในโรงเรียนบ้านนาหนุนสองจะไม่ค่อยชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ แต่ก็พอมีครูบางส่วนที่พอจะทำได้ ในการอบรมครั้งเน้นการเขียน Blog ส่วนแผนนั้นครูยังดำเนินการอยู่ยังไม่แล้วเสร็จพร้อมที่จะลง Blog 
ครูบางท่านยังไม่ชำนาญคอมพิวเตอร์ แต่ก็พอที่จะมีครูที่สามารถช่วยเหลือได้
คณะครูทุกท่านมีความตั้งใจมากที่จะเรียนรู้

ภาพบรรยากาศ








Mind mapping สนุกสนาน

Mind mapping สนุกสนาน


    แผนผังความคิด หรือที่เราเรียกกันว่า "Mind mapping" คือการถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่างๆ การเชื่อมโยงความคิดให้เป็นระบบ เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้ที่ไม่เคยทำเลยอย่างครูเอและครูไก่
    การทำแผนการเรียนรู้บูรณาการ PBL ก็มี Mind mapping เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งในชั้นเรียน ป.1 โดยความรับผิดชอบของครูเอ และคุณครูไก่ ครูประจำชั้น ป.1 โรงเรียนบ้านสุขเกษม สาขาคำม่วงไข่ ได้จัดทำหน่วยการเรียนรู้ในเรื่อง "มหัศจรรย์ส่ิงรอบตัว" โดยใช้วิชาวิทยาศาสตร์เป็นแกน การจัดทำแผนเป็นไปด้วยความทุลักทุเล ลองผิดลองถูก และการสรรหาสื่อวิดีโอเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมากมาย นั่นก็เป็นเรื่องที่หนักพอสมควร แต่พอมามองถึง ไอ้เจ้า Mind mapping ที่ทั้งครูไก่และครูเอไม่ถนัดเลยนั้น เราใช้การลองผิดลองถูก ซ้ำๆ หมดกระดาษไปกว่า 10 แผ่น และมีผลงานออกมา 3 ชิ้น กว่าจะมาเป็น Mind mapping ตัวสุดท้าย ก็ทำเอาเหนื่อยเอาการเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้ทำให้เราสองคนท้อถอยเลย มันเหมือนเป็นก้าวแรกในการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่ก้าวที่งดงาม แต่ก็เกิดขึ้นจากความตั้งใจ และความร่วมมือกันของเรา อุปสรรคมีมากมาย และมีอีกหลายอย่างที่เรากลัว และไม่รู้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่เรามีในตอนนี้คือ "ความหวัง" ความหวังที่ว่าจะพัฒนาอนาคตของชาติให้เป็นคนที่ดี มีความสามารถ 
   ต้องขอบคุณคุณครูไก่ (คุณครูวิลาวรรณ  วรชินา) และคณะครูโรงเรียนบ้านสุขเกษม สาขาคำม่วงไข่ทุกท่าน ที่ร่วมมือกันเขียนแผนฯและช่วยแนะนำความรู้ต่างๆ ทั้งยังเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อจัดทำแผนบูรณาการในครั้งนี้ แล้วเราจะต่อสู้ไปด้วยกันในแผนฯหน่วยต่อไปนะคะ


.......................................................................



เขียนแผนร่วมกับคณะครูโรงเรียนบ้านสุขเกษม สาขาคำม่วงไข่

ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน มีนาคม เราได้ร่วมกันเขียนแผน PBL กับทางคณะครูโรงเรียนสุขเกษม สาขาคำม่วงไข่ เพื่อที่จะนำไปใช้ในปีการศึกษา 2557/1 เป็นครั้งแรกหลังจากที่เราได้ไปอบรมที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ได้มาเขียนแผนร่วมกัน ทางคณะครูได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในขณะที่เขียนแผน เราก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนกับทางคณะครู ในการเขียนเราจะต้องจับคู่เขียนแผน ซึ่งก็ได้จับคู่กับคุณครูถวิล เป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ขอเรียกสั้นๆว่าครูหวินนะค่ะ ครูหวินมีความความสนใจเรื่องแผน PBL เป็นอย่างมาก ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเอง ในขณะที่เขียนแผนก็ได้เรียนรู้เรื่องกิจกรรม เนื้อหา และบริบทของโรงเรียนและชุมชน จากครูหวินเป็นอย่างดี ขณะนี้แผน PLB ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งมีชื่อว่า "โลกหรรษา" ก็เกือบจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว พร้อมที่จะใช้ในปีการศึกษาที่จะถึงนี้เรียบร้อยแล้วค่ะ

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กระบวนการทำแผน PBL

ภาคเรียนที่ 2 กำลังจะจบลง ภาคเรียนถัดไป เราจะเข้าสู่ PBL เต็มรูปแบบกันแล้ว คุณครูทุกท่านยังจำกระบวนการจัดทำแผนกันได้มั้ยคะ?

บล็อคนี้ขอนำเสนอกระบวนการทำแผน PBL ที่แอมเข้าใจจากการไปอบรมมาที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา อยากให้คุณครูทุกคนเสนอข้อคิดเห็นถึงขั้นตอนเหล่านี้ด้วยว่า มีขั้นตอนใดขาดหายไป หรืออธิบายละเอียดไม่พอ ช่วยกันต่อเติมกระบวนการนี้ให้สมบูรณ์ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการทำแผนที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ค่ะ

กระบวนการจัดทำแผนโครงงาน

  1. ผู้สอนมีชั้นเรียนที่รับผิดชอบ ผู้สอนมองปัญหารอบๆ ตัว หรือปัญหาที่นักเรียนพบ หรือจะพบในอนาคต และสร้างหัวข้อ (topic) จากปัญหา 
  2. จัดทำภูมิหลังของปัญหา 
    • คำถามหลัก เป็นคำถามหรือปัญหาหลักของเรื่องนั้นๆ เป็นคำถามปลายเปิด 
    • ภูมิหลังของปัญหา ควรเขียนเป็นความเรียง ประกอบไปด้วยความเป็นมาของปัญหา ความเกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา และเหตุผลที่นักเรียนควรเรียนรู้ 
    • เป้าหมายความเข้าใจ ตามเกณฑ์การประเมินของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา มุ่ง 3 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ อาจจะเขียนเป็นความเรียงก็ได้ ไม่จำเป็นต้องแยกเป็นหัวข้อ แต่เนื้อหาควรมีให้ครบ 
  3. จัดทำ mindmap เนื้อหา สำหรับครู พยายามแตกกิ่งออกไปให้ได้มากที่สุด โดยไม่ต้องกังวลว่าจะสอนได้หมดหรือไม่ มีไว้เป็นแนวทางสำหรับครูให้เห็นภาพรวมและความสัมพันธ์ ส่วนประกอบของ mindmap ได้แก่ 
    • แก่นแกน โดยอาจใช้เป็นภาพสื่อได้
    • กิ่งแก้ว ฝึกคิดแนวกว้าง
    • กิ่งก้อย ฝึกคิดแนวลึก
  4. วิเคราะห์มาตรฐานของหลักสูตร โดยวิเคราะห์ทั้งหมด 5+1 ได้แก่ วิทยาศาสตร์ สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ ประวัติศาสตร์ โดยมีการวิเคราะห์มาตรฐานของหลักสูตร ดังนี้
    • วิเคราะห์ตามลำดับมาตรฐานในหลักสูตร
    • หลักสูตรจะกำหนดไว้กว้างๆ ให้ปรับให้เหมาะสมกับหัวข้อ
    • การวิเคราะห์มาตรฐานหลักสูตร จะวิเคราะห์ในระดับชั้นที่รับผิดชอบให้ครบก่อน แต่สามารถวิเคราะห์ในระดับชั้นที่สูงกว่าได้ (ส่วนมากประมาณ 2 ชั้น หรือมากกว่าก็ได้)
    • ขั้นตอนที่ 2-4 อาจทำไปพร้อมๆ กัน
  5. เขียนแผนรายสัปดาห์ (แบบกว้าง ยืดหยุ่นได้ เนื่องจากช่วงสัปดาห์แรกๆ นักเรียนจะเป็นคนกำหนดหัวข้อและเรื่องที่เรียน) แผนแต่ละสัปดาห์จะประกอบไปด้วย
    • เป้าหมาย เป็นภาพรวมที่ต้องการให้นักเรียนไปถึงในสัปดาห์นั้น
    • Input คือ สิ่งที่ป้อนเข้าไป หรือเตรียมให้นักเรียน มีหัวข้อย่อยดังนี้
      • โจทย์ สำหรับนักเรียนต้องแก้ไขปัญหา ตอบคำถาม หรือได้ผลลัพธ์สำหรับสัปดาห์นั้นๆ
      • Key Questions คือ คำถามหลักประจำสัปดาห์ที่พาจะพาไปตอบโจทย์ได้
      • เครื่องมือคิด คือ การใช้เครื่องมือต่างๆ ในการช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
      • ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ มีใครบ้าง เช่น ครู นักเรียน วิทยากรภายนอก ฯลฯ
      • สื่อและแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ สื่อที่ใช้ในคาบนั้นๆ แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
    • Process ประกอบไปด้วย 3 กระบวนการใหญ่ๆ ได้แก่ ชง เชื่อม ใช้ แต่ละสัปดาห์ไม่จำเป็นต้องมีครบทั้ง 3 และเรียงตามลำดับ อาจจะชง เชื่อม ชง เชื่อม แล้วจึงใช้ก็เป็นไปได้
      • ชง คือ การกระตุ้นผู้เรียนด้วยคำถาม หรือ โยนโจทย์ให้นักเรียนปะทะกับปัญหา
      • เชื่อม คือ การที่ผู้เรียนได้เชื่อมสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมข้อมูลใหม่กับข้อมูลเดิม ข้อมูลของตนเองกับข้อมูลของเพื่อนๆ ตัวอย่างกิจกรรมอาจจะอยู่ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การระดมสมอง เป็นต้น
      • ใช้ คือ การที่ผู้เรียนได้นำความรู้มาทำอะไรสักอย่าง เช่น การสรุปความรู้รายสัปดาห์ การทดลอง เป็นต้น
    • Output คือ สิ่งที่มีออกมาให้เห็น ผลสืบเนื่องจากกระบวนการ แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ ได้แก่
      • ภาระงาน คือ กิจกรรมที่ให้นักเรียนทำ อาจจะไม่ได้มีชิ้นงานออกมาให้เห็น เช่น การวิเคราะห์เนื้อเรื่องจากสื่อที่ดู
      • ชิ้นงาน คือ ตัวชิ้นงานที่นักเรียนปฏิบัติออกมาจนสำเร็จ เช่น เอกสารรายงานการวิเคราะห์เนื้อหา ภาพวาด เป็นต้น
    • Outcome คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ สอดคล้องกับ Rubric ของสถานศึกษา โดยของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา เน้น 3 ด้านใหญ่ ได้แก่
      • ความรู้
        • การประกอบการเศรษฐศาสตร์
        • สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร
        • ความเป็นพลเมือง วัฒนธรรม ประเพณี
        • สุขภาพ
      • ทักษะ
        • ทักษะชีวิต
        • ทักษะการเรียนรู้
        • ทักษะการแก้ปัญหา
        • ทักษะ ICT
        • ทักษะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
      • คุณลักษณะ
        • เช่น คุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น
  6. บันทึกหลังการสอน คือ การบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ มีความก้าวหน้าอย่างไร มีเรื่องใดน่าสนใจหรือปัญหาอะไร เป็นภาพรวมของการสอนในสัปดาห์นั้นๆ
  7. ตรวจสอบแผนเบื้องต้น โดยเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้าสายงาน
  8. ประชุมกลุ่ม เพื่อนำเสนอแผนงาน พร้อมรับคำแนะนำจากฝ่ายต่างๆ เพื่อนร่วมงาน หัวหน้าสาย เป็นต้น
  9. อัพโหลดขึ้นบล็อกเพื่อแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่นๆ ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน
  10. ปรับปรุงแผนงาน
  11. นำไปใช้สอนจริง
  12. บันทึกหลังสอน (รายสัปดาห์) และปรับปรุงหรือเขียนแผนของสัปดาห์ถัดไป (อัพโหลด แลกเปลี่ยนเรื่องราวบนบล็อก)


❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀ ❀

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อาหารตามสั่ง : ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์

กิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
Topic : “อาหารตามสั่ง” ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ มีกระบวนการในการวางแผนการทำงาน การแบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น ขั้นตอนเพื่อออกแบบการเรียนรู้ รวมทั้งเข้าใจและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์

 

กิจกรรมนี้นักเรียนในแต่ละกลุ่มได้ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์

ขอบคุณครูเอที่ทำแผนการเรียนรุ้ เรื่อง "อาหารตามสั่ง" ให้นักเรียนได้เรียนรู้ นักเรียนสนุกสนานกับการทำกิจกรรมนี้มากค่ะ



วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Mind mapping


Mind Map (แผนที่ความคิด) คือ เครื่องมือด้านความคิดที่ออกแบบโดยเลียนแบบการทำงานของสมอง เครื่องมือนี้ คือ ภาษาของสมอง” เป็นการระดมสมอง แสดงความคิด มีลักษณะสำคัญคือ มีการเชื่อมโยง จากไอเดียหลักตรงกลาง แตกกิ่งออกไปเรื่อยๆ

สัปดาห์ที่ 7  ระหว่างวันที่ 3-7 กุมภาพันธ์ 2557  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนบ้านกุดไกรสร ภูมิภาคยโสธร
  
        สำหรับสัปดาห์นี้ นักเรียนชั้น ป.5 ได้เรียนรู้ประโยคและคำศัพท์เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน <Daily Routines> โดยมีกิจกรรมเสริมคือการทำแผนที่ความคิด เป็นการระดมสมองในสิ่งที่เรียนมาแล้ว ถ่ายทอดออกมาเป็น Mind mapping  สำหรับกิจกรรมนี้เด็กๆคนมีความสุขมากเพราะได้แสดงออกทางด้านศิปละ ความคิด และการออกแบบอย่างมีอิสระ 



จิตศึกษา : กายบริหาร

ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ป.4-5 โรงเรียนบ้านสุขเกษม สาขาคำม่วงไข่

ปฏิบัติกิจกรรม วันที่ 05 กุมภาพันธ์ 2557

      อากาศวันนี้ค่อนข้างจะมืดครึ้ม คล้ายฝนจะตก ไม่มีแดดเลย อากาศไม่ถึงกับอากาศเย็น แต่ถือว่าเป็นบรรยากาศที่ชวนง่วงนอนอย่างมาก หลังจากนักเรียนเสร็จสิ้นภาระกิจการปฏิบัติกิจกรรมหน้าเสาธงแล้ว เริ่มต้นการเรียนด้วยบรรยากาศง่วงเหงาแบบนี้ ครูเอจึงได้ให้นักเรียนยืดเส้นยืดสาย เพื่อให้ร่างกายและสมองตื่นตัวพร้อมสำหรับการเรียนรู้ โดยใช้ท่ากายบริหารง่ายๆ ที่นักเรียนสามารถปฏิบัติได้ภายในห้องเรียน นักเรียนทุกคนมีความตั้งใจ สมาธิจดจ่ออยู่กับกิจกรรม มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมทุกคน โดยมีครูเอเป็นผู้นำปฏิบัติ จากการสังเกตนักเรียน นักเรียนทุกคนมีสมาธิในการฟังคำสั่ง และปฏิบัติตามคำสั่ง สายตาทั้ง 2 ข้าง ของทุกคน จับจ้องมาที่คุณครูเอ เปรียบกับว่าครูเอคือผู้นำเต้นแอโรบิก ไม่ว่าครูเอจะยืดเหยียดกล้ามเนื้อไปด้านไหน ทุกคนเป็นต้องเหยียดกล้ามเนื้อตามกันทุกคน หลังจากยืดเหยียดกล้ามเนื้อแล้ว รู้สึกได้ถึงความผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ ความสบายของร่างกาย ความสดชื่น สมองปลอดโปร่งแล้ว จากนั้นครูเอจึงเริ่มป้อนคำสั่ง และบทเรียนที่จะต้องเรียนในวันนี้ ทำให้ความสนใจของนักเรียนก็ยังอยู่ที่ตัวครูเอ สมาธิที่มีต่อการเรียนก็มีมากขึ้น เพราะต่อเนื่องจากการปฏิบัติกิจกรรม

      จากการปฏิบัติกิจกรรมนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จ นักเรียนมีสมาธิในการฟังคำสั่ง และทำให้การเรียนรู้ในบทเรียนง่ายยิ่งขึ้น แต่กิจกรรมนี้ก็ควรมีท่ากายบริหารที่น่าสนใจมากขึ้น และมีการอธิบายประโยชน์ของการทำท่ากายบริหารดังกล่าวเพิ่มเติมด้วย ครูเอคิดว่าถ้านำไปใช้อีกก็จะปรับปรุงเพิ่มเติมส่วนนี้ขึ้นอีก เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิดตามและสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนต่อการทำท่ากายบริหารด้วย

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

หน้ากากสองหน้า

โรงเรียนบ้านจองกอ ชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1
จากสัปดาห์ที่แล้วสอนเรื่อง animals and numbers. นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ และได้ให้นักเรียนจัดทำชิ้นงานของตนเองขึ้นมา ซึ่งแต่ละคนได้ทำชิ้นงานของตนเองขึ้นมา เป็นหน้ากากสองหน้าและได้ตั้งชื่อชิ้นงานของตนเอง เช่น พี่ cat แมว, พี่ dog สุนัข, พี่เฟอร์บี้,




พี่ lion ฯลฯ ทำให้นักเรียนสนุกกับการทำชิ้นงานชิ้นนี้มากๆ ทำให้เด็กไม่เบื่อกับการเรียน ในเมื่อเด็กได้สนุกกับกิจกรรมที่ทำ เด็กก็จะหันมาสนใจกับการเรียนมากขึ้นและจำคำศัพท์ได้ดียิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหากับตัวเอง



เกิดปัญหาและวิธีการแก้ปัญหากับตัวเองในการดูวิดีโอ และหาข้อสรุปร่วมกัน

เป็นการทำให้เด็กรู้ปัญหาของตัวเองและรู้จักวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ PBL พร้อมกับหาข้อสรุปในการแก้ปัญหาร่วมกัน

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

สานกระดาษ สานจิต


กิจกรรมสานกระดาษ สานจิต 


เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมจิตศึกษา แต่เอามาใช้ในช่วงบ่าย กับกลุ่มเด็กที่เรียนช้า เนื่องจากการใช้กิจกรรมที่ให้เด็กได้ปฏิบัติในช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมที่เน้นการลงมือทำ และเรียนรู้และมีความสุขไปพร้อมกับการทำกิจกรรม ที่ให้เด็กมีความคิดที่จะสานอย่างไรให้เกิดลวยลายและมีชิ้นงาน ฝึกความอดทนและการใช้สมาธิในการทำกิจกรรม และเกิดจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ต่อชิ้นงาน
อุปกรณ์ที่ใช้
1. กระดาษ A4 สีขาว 
2.การดาษสีต่างๆ
3.มีด คัตเตอร์ 
4.ไม้บรรทัด
5.กาว

ขั้นตอนการทำกิจกรรม
ครูโชว์กระดาษ ทั้งสีขาว และสีต่างๆ ให้เด็กได้ดู  ครูถามว่าเด็กๆเห็นอะไร อยู่ที่มือของครู เด็กจะตอบว่า กระดาษสีขาว สีเหลือง สีชมพู 
ครูถามว่า ใครเห็นเป็นอย่างอื่นบ้าง  เด็กก็ยังจะตอบว่าเป็นกระดาษ 
คำถามต่อไป ครูถามว่า เราเอากระดาษไปทำอะไรได้บ้าง 
เด็กๆตอบว่า เอาไปวาดรูป เอาไปพับจรวด  เอาไปเขียนหนังสือ เป็นส่วนมาก

ต่อไปตัดกระดาษ ออกเป็น 2 อย่าง 
1.ตัดเป็นเส้น ๆ ขนาดเท่ากัน
2.ตัดเป็นช่อง เท่าๆกัน โดยไม่ให้ขาด ซึ่งให้เหลือจากขอบกระดาษประมาณ 1 นิ้ว  (ช่วงที่ตัดต้องระมัดระวัง) ถามเด็กว่าเราจะทำอะไรกับกระดาษ 2 อย่างนี้ 
เด็กๆตอบว่า เอามาพับเป็นดาว  มาพับเป็นหนอน
ครูเลยเอากระดาษดังกล่าวมาสานให้เด็กดู 1 เส้นก่อน โดยไม่บอกเด็กว่าครูจะทำอะไร แล้วให้เด็กคิดว่ามันคืออะไร
(เด็กยังคิดไม่ออกว่าาครูจะทำอะไร )แล้วครูก็หยิบเส้นที่ 2 มาสาน เด็กๆเริ่มตอบได้ว่า ครูกำลังจะสานสื่อ เด็กเริ่มอยากที่จะทำ และลงมือทำ ก่อนที่เด็กจะได้งานไปทำ เด็กต้องพร้อม 

ระหว่างที่ทำกิจกรรม เด็กจะสานไม่ได้ ไม่เกิดลวดลาย  ครูเลยให้เด็กดูว่างานของเราเหมือนกันกับครูไหม  ไม่เหมือนกันตรงไหน เด็กมองเห็นชิ้นงานของตัวเองและสังเกตว่ามันผิดตรงไหน
และแนะนำวิธีการสาน  และต้องระมัดระวังด้วยเพราะกระดาษมันบางมาก 
เด็กเริ่มลงมือทำ เมือสานจนครบหรือเต็มแล้ว  ขั้นตอนสุดท้ายก็เป็นการทากาวไม่ให้ชิ้นงานมันหลุด และมีความแข็งแรง 

จากชิ้นงานที่ได้  ครูถามว่าเราจะเอาไปใช้งานได้ไหม 
เด็กตอบว่า ได้  คือ ทำเป็นที่นั่ง ทำเป็นที่เขียนหนังสือ  ทำเป็นตารางเรียน ทำเป็นตารางสูตรคูณ ทำเป็นปฏิทิน  ทำเป็นตาราง ก-ฮ หรือตาราง A-Z 

ผลจากการทำกิจกรรม 
เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรม  และสามารถทำชิ้นงานออกมาได้สำเร็จ
เด็กมีความอดทน และเกิดการสังเกต เวลาที่ชิ้นงานไม่ถูกต้อง หรือชิ้นงานออกมาไม่เหมื่อนตัวอย่าง
และมีความคิดสร้างสรรค์ต่อการนำชิ้นงานไปใช้ประโยชน์ต่อ
ปัญหาคือ เด็กๆยังไม่ได้สร้างผลงานต่อที่ได้จากชิ้นงาน เพราะเวลาหมด

บทเรียน Google Translate "สมุดคำศัพท์"

"สมุดคำศัพท์"

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2,3,4
ปฏิบัติการสอนในวันที่ 28-30 มกราคม 2557

         บทเรียนในวันนี้เป็นบทเรียนเรื่องการแปลภาษา โดยใช้ Google Translate ครูเออธิบายโปรแกรม Google Translate โดยสุ่มนักเรียนออกมา 1 คน เพื่อเป็นคนสาธิตการใช้งาน จากนั้น มีโจทย์ให้นักเรียนคือ "ให้นักเรียนทำสมุดคำศัพท์ของตนเอง โดยคิดคำศัพท์เอง และตกแต่งสมุดคำศัพท์ตามใจชอบ" โดยใช้โปรแกรม Google Translate สำหรับแปลภาษา


 

        จากกิจกรรมนี้ นักเรียนทุกคนต่างตั้งใจในการปฏิบัติงานของตนเอง ทุกคนมีสมุดคำศัพท์ของตนเอง และต่างตื่นเต้นที่อยากจะนำเสนอผลงานของตนเอง ส่วนในเรื่องการใช้งาน Google Translate ก็จะติดปัญหาคือ สำหรับนักเรียนบางคนยังเขียนหนังสือได้ไม่ดี เวลานำไปแปลใน Google Translate ถ้าเขียนผิดการแปลก็จะผิดเพี้ยนไป ครูต้องคอยเดินดูเพื่อคอยดูแล ให้ใช้งานอย่างถูกต้อง แต่ก็ถือว่าไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะนักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งผลงานนักเรียนที่ออกมาก็ถือว่าประสบความสำเร็จ ผลที่ได้คือความรู้ ความตั้งใจ และความสนุกสนาน



        ครูเอขอเล่าตัวอย่างนักเรียนที่น่ารักคนหนึ่ง เค้าคือเด็กชายอภิสิทธิ์ โรงเรียนบ้านกุดไกรสร ปกติแล้วเด็กชายอภิสิทธิ์จะเป็นนักเรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ช้าที่สุด แต่ก็พยายามในการเรียนมากและมีงานส่งทุกครั้ง ครั้งนี้ก็เช่นกัน อภิสิทธิ์ตื่นเต้นกับการใช้งาน Google Translate มาก นอกจากจะแปลคำศัพท์ เพื่อทำสมุดคำศัพท์ของตนเองแล้ว อภิสิทธิ์ยังแปลคำศัพท์อื่นๆที่ตนเองอย่างรู้ แถมยังเรียกเพื่อนๆมาฟังเพื่อจะได้รู้คำศัพท์นั้นๆด้วย และคำศัพท์ที่อภิสิทธิ์แปลก็เป็นคำศัพท์ที่แปลกๆ แสดงถึงความอินดี้ของอภิสิทธิ์ อย่างเช่น คำว่า "ผีกระหัง, ผีกระสือ" ไม่ใช่แค่แปล แต่อภิสิทธิ์ ออกเสียงตามด้วย ซึ่งสร้างสีสันในห้องเรียนได้ดีทีเดียว กิจกรรมในวันนี้จึงมีความสุขมาก มีเสียงหัวเราะมาเป็นระยะๆ


 


วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมการสอน PBL โรงเรียนบ้านสันเจริญ

กิจกรรมจิตศึกษาฝึกจินตนาการ
          - วาดภาพ
          - เล่านิทาน

วัตถุประสงค์ 
          - ฝึกสมาธิ การพูด การฟัง
          - ฝึกการสังเกต
          - ฝึกการคิด จินตนาการสร้างสรรค์


- ครูเล่านิทานเรื่อง ก้อนหินวิเศษ ให้นักเรียนฟัง เป็นเรื่องสั้น ๆ แล้วให้นักเรียนวาดภาพประกอบนิทานที่ฟัง
- ให้นักเรียนเล่านิทานเป็นเรื่องต่อ ๆ กัน โดยตัวละครในนิทานต้องมีบทบาทสัมพันกับเนื้อหาที่เพื่อนเล่าต่อๆกันมา 
ผลที่ได้ นักเรียนไม่ค่อยกล้าแสดงออกที่จะเล่านิทานต้องค่อยช่วยให้กำลังใจเด็กค่อยช่วยตลอตเพราะว่าเป็นครั้งแรกที่เด็กได้เล่านิทานแต่เด็กก็สนุกกับกิจกรรมทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมผ่านไปด้วยดี เด็กบ้างคนเล่าเก่งมากบ้างก็เล่าไปถึงสวนกาแฟ หรือสถานที่ท้องเที่ยวในหมู่บ้านของตนเอง
 

กิจกรรมการสอน PBL สัปดาห์ที่ 5 - 6

เนื้อหา การสร้างฉันทะ สร้างแรงบันดาลใจ
key Questions
- นักเรียนเห็นอะไรจากการเดินไปไร่นาข้าวบนภูเขาของเราบ้าง
- นักเรียนเห็นอะไรจากคลิปวีดีโอบ้าง และรู้สึกอย่างไร
- นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรในเทอมนี้/ทำไมจึงอยากเรียนรู้เรื่องนี้

รายการคนค้นฅนตอน ปริญญาทำนา วันที่ 29 กันยายน 2555



ผลจากการสอนสัปดาห์ที่ 5 นักเรียนทุกคนตั้งใจเรียนแต่ก็ดีใจที่นักเรียนสนใจเพราะว่านักเรียนเองยังไม่คุ้นเกี่ยวการเรียนแบบนี้ซึ่งเป็นการเรียนที่นักเรียนเลือกที่จะเรียนเองเด็กกล้าพูดและโต้ตอบในเนื้อที่สอน ซึ่งว่าด้วยโรงเรียนบ้านสันเจริญเป็นชาวเขาเผ่าเมี่ยนการทำนาดำนั้นเป็นสิ่งใหม่ที่เด็กได้พบเจอเห็น ในชีวิตของนักเรียนจะคุ้นการทำนาบนภูเขาสูงทำให้เด็กสนใจการเรียน ผมได้นำสื่อการสอน ในช่วงขั้นชงใน VDO คลิปทำนานั้นเป็นการปลูกข้าวนาดำแบบทั่วที่เคยพบเจอกันซึ่งเด็กก็สนใจและมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการทำนาดำ

ชิ้นงาน   - วาดภาพสิ่งที่พบเห็นจากการไปช่วยพ่อแม่หรือญาติที่ไปปลูกข้าวที่ไร่บนภูเขาของ                           นักเรียนหรือประสบการณ์ที่ประสบหรือเจอมาในทุ้งนาบนภูเขาของนักเรียนเอง
               - เขียน เรื่องที่อยากเรียนรู้







ผลจากการสอนสัปดาห์ที่ 6 ในสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่ 2 การสอน PBL จากที่สัปดาห์ที่ผ่านมาให้การบ้านไปสำรวจทุ่งนาบนภูเขาที่ใกล้บ้านของนักเรียนเอง จากนั้นให้นักเรียนเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ในเทอมนี้เกี่ยวทุ่งนาบ้านของเรา เด็กบางคนยังมองภาพไม่ว่าจะเขียนอย่างไรเกี่ยวกับที่สิ่งอยากเรียนรู้ในเทอมเกี่ยวกับทุ่งนาบ้านเรา ได้นำตัวอย่างการเขียนจากโรงเรียนลำปลายพัฒนาเป็นตัวอย่างในการเขียนจากที่ได้แนะนำและอธิบายนักเรียนก็ได้ทำงานออกมาได้คิดเป็นร้อยละ 
70 % นักเรียนทุ่งคนตั้งใจทำงานหรือชิ้นออกมาอย่างตั้งใจ ผลที่สอนมาสองสัปดาห์ในแบบของ PBL แล้วนั้นทำให้มองเห็นปัญหาหลายอย่างในการเรียนการสอนซึ่งจะได้นำไปปรับปรุงต่อไป