วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

สานกระดาษ สานจิต


กิจกรรมสานกระดาษ สานจิต 


เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมจิตศึกษา แต่เอามาใช้ในช่วงบ่าย กับกลุ่มเด็กที่เรียนช้า เนื่องจากการใช้กิจกรรมที่ให้เด็กได้ปฏิบัติในช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมที่เน้นการลงมือทำ และเรียนรู้และมีความสุขไปพร้อมกับการทำกิจกรรม ที่ให้เด็กมีความคิดที่จะสานอย่างไรให้เกิดลวยลายและมีชิ้นงาน ฝึกความอดทนและการใช้สมาธิในการทำกิจกรรม และเกิดจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ต่อชิ้นงาน
อุปกรณ์ที่ใช้
1. กระดาษ A4 สีขาว 
2.การดาษสีต่างๆ
3.มีด คัตเตอร์ 
4.ไม้บรรทัด
5.กาว

ขั้นตอนการทำกิจกรรม
ครูโชว์กระดาษ ทั้งสีขาว และสีต่างๆ ให้เด็กได้ดู  ครูถามว่าเด็กๆเห็นอะไร อยู่ที่มือของครู เด็กจะตอบว่า กระดาษสีขาว สีเหลือง สีชมพู 
ครูถามว่า ใครเห็นเป็นอย่างอื่นบ้าง  เด็กก็ยังจะตอบว่าเป็นกระดาษ 
คำถามต่อไป ครูถามว่า เราเอากระดาษไปทำอะไรได้บ้าง 
เด็กๆตอบว่า เอาไปวาดรูป เอาไปพับจรวด  เอาไปเขียนหนังสือ เป็นส่วนมาก

ต่อไปตัดกระดาษ ออกเป็น 2 อย่าง 
1.ตัดเป็นเส้น ๆ ขนาดเท่ากัน
2.ตัดเป็นช่อง เท่าๆกัน โดยไม่ให้ขาด ซึ่งให้เหลือจากขอบกระดาษประมาณ 1 นิ้ว  (ช่วงที่ตัดต้องระมัดระวัง) ถามเด็กว่าเราจะทำอะไรกับกระดาษ 2 อย่างนี้ 
เด็กๆตอบว่า เอามาพับเป็นดาว  มาพับเป็นหนอน
ครูเลยเอากระดาษดังกล่าวมาสานให้เด็กดู 1 เส้นก่อน โดยไม่บอกเด็กว่าครูจะทำอะไร แล้วให้เด็กคิดว่ามันคืออะไร
(เด็กยังคิดไม่ออกว่าาครูจะทำอะไร )แล้วครูก็หยิบเส้นที่ 2 มาสาน เด็กๆเริ่มตอบได้ว่า ครูกำลังจะสานสื่อ เด็กเริ่มอยากที่จะทำ และลงมือทำ ก่อนที่เด็กจะได้งานไปทำ เด็กต้องพร้อม 

ระหว่างที่ทำกิจกรรม เด็กจะสานไม่ได้ ไม่เกิดลวดลาย  ครูเลยให้เด็กดูว่างานของเราเหมือนกันกับครูไหม  ไม่เหมือนกันตรงไหน เด็กมองเห็นชิ้นงานของตัวเองและสังเกตว่ามันผิดตรงไหน
และแนะนำวิธีการสาน  และต้องระมัดระวังด้วยเพราะกระดาษมันบางมาก 
เด็กเริ่มลงมือทำ เมือสานจนครบหรือเต็มแล้ว  ขั้นตอนสุดท้ายก็เป็นการทากาวไม่ให้ชิ้นงานมันหลุด และมีความแข็งแรง 

จากชิ้นงานที่ได้  ครูถามว่าเราจะเอาไปใช้งานได้ไหม 
เด็กตอบว่า ได้  คือ ทำเป็นที่นั่ง ทำเป็นที่เขียนหนังสือ  ทำเป็นตารางเรียน ทำเป็นตารางสูตรคูณ ทำเป็นปฏิทิน  ทำเป็นตาราง ก-ฮ หรือตาราง A-Z 

ผลจากการทำกิจกรรม 
เด็กมีความสุขในการทำกิจกรรม  และสามารถทำชิ้นงานออกมาได้สำเร็จ
เด็กมีความอดทน และเกิดการสังเกต เวลาที่ชิ้นงานไม่ถูกต้อง หรือชิ้นงานออกมาไม่เหมื่อนตัวอย่าง
และมีความคิดสร้างสรรค์ต่อการนำชิ้นงานไปใช้ประโยชน์ต่อ
ปัญหาคือ เด็กๆยังไม่ได้สร้างผลงานต่อที่ได้จากชิ้นงาน เพราะเวลาหมด

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครูไก่ที่แบ่งปันค่ะ เป็นกิจกรรมที่นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ต่อยอดความรู้ของตนเองจากคำถามของครูไก่ได้อย่างยอดเยี่ยมเลยค่ะ

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น