วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

Mind mapping สนุกสนาน

Mind mapping สนุกสนาน


    แผนผังความคิด หรือที่เราเรียกกันว่า "Mind mapping" คือการถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่างๆ การเชื่อมโยงความคิดให้เป็นระบบ เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้ที่ไม่เคยทำเลยอย่างครูเอและครูไก่
    การทำแผนการเรียนรู้บูรณาการ PBL ก็มี Mind mapping เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งในชั้นเรียน ป.1 โดยความรับผิดชอบของครูเอ และคุณครูไก่ ครูประจำชั้น ป.1 โรงเรียนบ้านสุขเกษม สาขาคำม่วงไข่ ได้จัดทำหน่วยการเรียนรู้ในเรื่อง "มหัศจรรย์ส่ิงรอบตัว" โดยใช้วิชาวิทยาศาสตร์เป็นแกน การจัดทำแผนเป็นไปด้วยความทุลักทุเล ลองผิดลองถูก และการสรรหาสื่อวิดีโอเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมากมาย นั่นก็เป็นเรื่องที่หนักพอสมควร แต่พอมามองถึง ไอ้เจ้า Mind mapping ที่ทั้งครูไก่และครูเอไม่ถนัดเลยนั้น เราใช้การลองผิดลองถูก ซ้ำๆ หมดกระดาษไปกว่า 10 แผ่น และมีผลงานออกมา 3 ชิ้น กว่าจะมาเป็น Mind mapping ตัวสุดท้าย ก็ทำเอาเหนื่อยเอาการเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้ทำให้เราสองคนท้อถอยเลย มันเหมือนเป็นก้าวแรกในการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่ก้าวที่งดงาม แต่ก็เกิดขึ้นจากความตั้งใจ และความร่วมมือกันของเรา อุปสรรคมีมากมาย และมีอีกหลายอย่างที่เรากลัว และไม่รู้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่เรามีในตอนนี้คือ "ความหวัง" ความหวังที่ว่าจะพัฒนาอนาคตของชาติให้เป็นคนที่ดี มีความสามารถ 
   ต้องขอบคุณคุณครูไก่ (คุณครูวิลาวรรณ  วรชินา) และคณะครูโรงเรียนบ้านสุขเกษม สาขาคำม่วงไข่ทุกท่าน ที่ร่วมมือกันเขียนแผนฯและช่วยแนะนำความรู้ต่างๆ ทั้งยังเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อจัดทำแผนบูรณาการในครั้งนี้ แล้วเราจะต่อสู้ไปด้วยกันในแผนฯหน่วยต่อไปนะคะ


.......................................................................



1 ความคิดเห็น:

  1. สิ่งที่ได้จากการร่วมกิจกรรมการเขียนแผนร่วมกับโรงเรียนเรื่องของการเขียน Mind Mapping
    Mind Mapping คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ลงในกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย ลักษณะการเขียนผังความคิด เทคนิคการคิดคือ นำประเด็นใหญ่ ๆ มาเป็นหลัก แล้วต่อด้วยประเด็นรองในชั้นถัดไป
    ขั้นตอนการสร้าง Mind Mapping
    1. เขียนหรือวาดมโนทัศน์หลักให้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
    2. เขียนหรือวาดมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ
    3. เขียนหรือวาดมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ
    4. ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด
    5. เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน
    6. กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน
    ครูของทางโรงเรียนตอนแรกก็มีการเขียนคำอธิบายลงบนเส้นผิดทิศทางบ้างเช่น เขียนไว้ใต้เส้นกิ่งหลัก กิ่งรองบ้างก็แตกเส้นออกผิดที่บ้าง แต่จากการได้ร่วมมือกันแล้วก็ทำให้ได้ผลงานที่ดีขึ้น

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น